การใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์

สาธารณรัฐอิตาลี เป็นประเทศที่มีการนำมาตรการทางภาษีอย่างจริงจังมาใช้ในการส่งเสริมการใช้งานพลาสติกชีวภาพ โดยเริ่มต้นด้วยการออกกฎหมายห้ามจำหน่ายและแจกถุงพลาสติกทุกประเภท ยกเว้นถุงพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพที่มีการรับรองว่าสามารถสลายตัวได้ (compostable plastics) ตามมาตรฐานของ EN 13432:2002 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกนำเสนอโดยสมาชิกสภาราษฎรฝ่ายค้าน ด้วยการสนับสนุนจากภาคประชาชนและอุตสาหกรรม เพื่อมีจุดมุ่งหวังเดียวกันในเรื่องการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงแต่การออกกฎหมายเท่านั้น แต่ได้มีเป้าหมายนโยบายที่ชัดเจนว่าในปี พ.ศ. 2555 ขยะอินทรีย์จะถูก รวบรวมด้วยถุงสลายตัวได้ร้อยละ 65 และนำไปผลิตเป็นปุ๋ย รวมถึงการสร้างกำแพงในการลดการฝังกลบด้วยการเพิ่มค่าการกำจัดสำหรับการฝังกลบอีกร้อยละ 20 ยูโร นอกจากนี้ ยังได้มีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานอย่างโรงผลิตปุ๋ยหมักจากขยะ (composting plant) ที่ขณะนี้มีอยู่ทั้งหมด 240 แห่งทั่วประเทศ มีขยะอินทรีย์เข้ามา 3.7 ล้านตันต่อปี และผลิตเป็นปุ๋ยได้ 1.34 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีการบริหารงานโดยภาคเอกชนและสามารถดำเนินการจนมีกำไรจากค่ากำจัดและปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้

ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินนี้ คือ การได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่มีการคัดแยกขยะต้นทางอย่างสมบรูณ์ โดยแต่ละบ้านจะใช้ถุงพลาสติกชีวภาพที่ได้จากห้างสรรพสินค้ามาใช้แยกขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เช่น ถุงพลาสติกชีวภาพผสมแป้งของบริษัท Novamont ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพาวนด์พลาสติกชีวภาพที่ใช้แป้งเป็นสารตัวเติมหลัก โดยพัฒนาองค์ความรู้มาจากหน่วยงานวิจัยของอิตาลี และเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลาสติกชีวภาพ และเป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากกว่า 1,000 สิทธิบัตร จากนั้นจะมีบริษัทมาเก็บแยกเพื่อไปรวบรวม และนำขยะอินทรีย์ไปผลิตปุ๋ยหมัก โดยมีการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยให้มีคุณภาพสูงและควบคุมคุณภาพได้ในการผลิตระดับอุตสาหกรรม

Bioplastics@German

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นอีกประเทศสำคัญที่มีการสนับสนุนการใช้พลาสติกชีวภาพโดยการออกกฎหมายควบคุมการใช้พลาสติก โดยมีการสนับสนุนการใช้พลาสติกชีวภาพที่มีวัตถุดิบใหม่ที่ปลูกทดแทนได้ (renewable resource) โดยมีตัวอย่างที่สำคัญ คือ เมือง Bad Durkheim ซึ่งได้ร่วมมือกับบริษัท BASF สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBAT โดยได้ดำเนินการโครงการนำร่องการใช้ถุงขยะพลาสติกชีวภาพเพื่อคัดการขยะอินทรีย์ และนำมากำจัดในโรงผลิตปุ๋ยหมัก เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้ประชาชนทราบว่ามีการใช้ถุงพลาสติกชีวภาพจะมีคุณภาพดีกว่าการใช้ถุงกระดาษในการคัดแยกแบบในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อถุงขยะพลาสติกชีวภาพจากเทศบาล และต่อมาได้มีการประกาศนโยบายที่มีความชัดเจน โดยกำหนดเป็นข้อกฎหมายของเมืองให้ใช้ถุงขยะพลาสติกชีวภาพในการคัดแยกขยะอินทรีย์

แนวทางของนโยบายการใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อจัดการขยะอินทรีย์ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ได้ริเริ่มและสนับสนุนการดำเนินโครงการนำร่องการเพื่อจัดการขยะอินทรีย์ ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และชุมชนมีความตระหนักในการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็ง 2) อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้าหมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวบนเกาะ มีพื้นที่จำกัดในการกำจัดขยะ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานโครงการลักษณะนี้ เพื่อจะได้ข้อมูลพื้นฐานและแนวทางที่ชัดเจน สำหรับการสนับสนุนการสร้างนโยบายและมาตรการของภาครัฐที่ต้องมีการสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจร และการส่งเสริมและการจัดการขยะอย่างคุ้มค่าต่อไป

นวัตกรรมเพื่อการส่งออก…นำร่องสนับสนุน 100 บริษัท ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารและอาหารเสริม

     ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังก่อให้เกิดการรวมตัวของตลาดประเทศสมาชิกเข้ามาเป็นตลาดเดียวที่ใหญ่มหึมาในปี พ.ศ. 2558 สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของไทยและการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องเร่งพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจของตน ตลอดจน สร้างความแตกต่างให้กับสินค้า เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองและการแข่งขันกับประเทศต่างๆ รองรับความต้องการจากทั่วโลก

     การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงถือเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของผู้ ประกอบการไทย ดังนั้นความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานเครือข่าย จึงถือเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะ เกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

     สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. และกรมส่งเสริมการส่งออก ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ จึงได้ร่วมมือกันกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ ไทยให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม ทั้งในรูปแบบสินค้าและบริการใหม่ๆ เข้าไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้อย่างเข้มแข็ง พร้อมจับมือเครือข่ายเอกชนร่วมดำเนินการพัฒนาธุรกิจการค้าของผู้ประกอบการ ไทยให้มีความพร้อมในการแข่งขัน ภายใต้ โครงการ “นวัตกรรมเพื่อการส่งออก – Innovation 4 Export”

     กิจกรรม “100 บริษัท กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารและอาหารเสริมเพื่อการส่งออก” เป็นกิจกรรมนำร่องภายใต้โครงการความร่วมมือดังกล่าวที่มุ่งหวังเปิดโอกาสให้ ผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านอาหารและอาหารเสริม ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เข้ารับการสนับสนุนด้านเงินทุนและการพัฒนาตลาดเพื่อการ ส่งออกโดยเปิดรับสมัครบริษัทที่ผลิตอาหารและอาหารเสริมส่งผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่วันนี้ถึง 20 สิงหาคม 2555 ซึ่ง 100 บริษัทที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับโอกาสแสดงผลงานและเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อ รับสิทธิประโยชน์การขยายผลธุรกิจนวัตกรรมด้านต่างๆ ในวันอังคารที่ 4 กันยายน 2555การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยภายใต้โครงการ “นวัตกรรม เพื่อการส่งออก Innovation 4 Export” จะช่วยพัฒนาสินค้าไทยตั้งแต่ต้นสายถึงปลายทาง ขอเพียงผู้ประกอบการมีความพร้อมที่จะลุยตลาดต่างประเทศร่วมกันด้วยผลิตภัณฑ์ ที่มีความเป็นนวัตกรรมไม่ซ้ำใคร

    การสัมภาษณ์ 100 บริษัทที่ได้รับคัดเลือกจะทำให้เราจัดกลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่ในระยะต่างๆ ของการขยายธุรกิจได้ ผู้ประกอบการรายใดมีแนวคิดใหม่อยากพัฒนา สนช. เองสามารถช่วยเหลือด้านเงินทุนในการทดลองผลิตสินค้านวัตกรรมนั้นๆ ได้ตามกลไกการสนับสนุนของหน่วยงาน ผู้ประกอบการรายใดมีสินค้าที่น่าสนใจอยู่แล้ว ขาดเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจ เราก็จะให้เข้า Innovative Business Development Program ซึ่งจะมีทีมที่ปรึกษาช่วยในเรื่องการสร้างจุดเด่น สร้างตราสินค้า เพื่อความน่าสนใจของธุรกิจ หรือธุรกิจใดมีสินค้าพร้อมจำหน่ายก็เข้า New Market Investment Program ที่เราจะจัดหาผู้ร่วมทุนทางการค้าเพื่อพัฒนาตลาดและยอดขาย พร้อมจัดหา New Market Place พื้นที่แสดงสินค้าแห่งใหม่ ที่เน้นจุดขายเรื่อง “นวัตกรรม” เพื่อเป็นหน้าร้านในการเจรจาธุรกิจ โดยบริษัทนวัตกรรมที่มีความพร้อมเหล่านี้ ก็จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากกรมส่งเสริมการส่งออกซึ่งเป็นหน่วยงาน ในความร่วมมือของ สนช. ที่จะพาผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยไปบุกตลาดต่างประเทศ ทั้งในส่วนของการออกงานแสดงสินค้าและการนัดหมายเจรจาธุรกิจ

     กิจกรรมนำ ร่องครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารและอาหารเสริมของ ไทย ที่จะได้มีโอกาสก้าวไกลสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่แปลกใหม่ไปแข่งขันในตลาด สากล ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดและส่งใบสมัครได้ที่ 02-644 6000 ต่อ 135 (ชานนท์) โทรสาร: 02-644 8443 อีเมล์: i4e@nia.or.th เว็บไซต์: www.nia.or.th/i4