การร่วมเป็นกรรมการตัดสินผลงานสินค้านวัตกรรมเกษตรอินทรีย์

วันที่ 22 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา รศ.ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ นายกสมาคม ฯ และประธานเครือข่ายนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินผลงานสินค้านวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจัดขึ้นโดย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมตลาดเกษตรอินทรีย์และพัฒนาธุรกิจเกษตรอินทรีย์สู่ความยั่งยืน ปีงบประมาณ 2563

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์เกษตรอินทรีย์สู่ผู้ผลิตและผู้บริโภค สื่อสารให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคก่อให้เกิดการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาทางด้านการตลาดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เกิดการเชื่อมโยง ช่องทางการจำหน่ายผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการประชาสัมพันธ์และการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย และเพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างโอกาสทางการค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ประกอบกับกรมการค้าภายใน มีภารกิจในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาตลาดเกษตรอินทรีย์

คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มีศักยภาพและความพร้อมในการเชื่อมโยงช่องทางตลาด เป้าหมายจำนวนไม่น้อยกว่า 150 ผลิตภัณฑ์ /150 ผู้ประกอบการ โดยคัดเลือกให้เหลือเพียง 50 ผลิตภัณฑ์ /50 ผู้ประกอบการ ครอบคลุมใน 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ข้าว 2) เครื่องปรุงรส 3) ผักและผลไม้สด 4) สินค้าแปรรูป และ 5) ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร ทั้งนี้ผลการคัดกรอง และคัดเลือกคงจะประกาศให้สาธารณชนรับทราบภายในต้นเดือนตุลาคมนี้

เครือข่ายนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ (OAIN : Organic Agriculture Innovation Network) เป็นอีกแรงหนึ่งที่ช่วยกันผลักดันให้เกิดสินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนให้แก่ระบบการผลิตสินค้าเกษตรและระบบเกษตรกรรมที่ดี

เข้าร่วมงานสัมมนา “ชี้ช่องเกษตรอินทรีย์ไทย…สู่ตลาดสากล”

สถาบันคีนันแห่งเอเซีย ขอเชิญผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานสัมมนา“ชี้ช่องเกษตรอินทรีย์ไทย…สู่ตลาดสากล”

ในวันพฤหัสบดี ที่ 7 กันยายน 2560 ณ ห้อง Ballroom 1 โรงแรมS31 สุขุมวิท เวลา 09.00 – 13.00 น. **ภายในงานมีการจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน (บุฟเฟ่ต์)

v การเสวนาประกอบด้วยประเด็นต่อไปนี้

1.       การรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์สินค้าและ/หรือบริการในสาขาเกษตรอินทรีย์ โอกาสและลู่ทางการตลาด ตลอดจนมาตรฐานสินค้าที่จาเป็นในการออกสู่ตลาดต่างประเทศ

2.       การเสวนาโดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีบทบาทสำคัญในสาขาเกษตรอินทรีย์ของไทย 4 ท่าน ได้แก่

–          คุณพีรโชติ จรัญวงศ์ (นายกสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย และกรรมการผู้จัดการบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเมอริท จำกัด)

–          คุณสุรเดช นิลเอก (ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม และกรรมการผู้จัดการบริษัท ทรอปิคาน่าออยล์ จำกัด)

–          คุณนาถฤดี นาครวาจา (ผู้อำนวยการ มูลนิธิมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ – มกท.)

–          คุณวัลลภ พิชญ์พงศา (ผู้บริหารบริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด)

**ในหัวข้อต่อไปนี้

–          บทบาทของภาครัฐในการผลักดันเกษตรอินทรีย์ไทยสู่ระดับสากล

–          แนวทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการยกระดับมาตรฐานของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ไทย

–          โอกาสของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ไทยในตลาดต่างประเทศ

ผู้ที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ เว็บไซต์https://goo.gl/forms/IH9NaF9WZ4yGKxTv1

ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2560

รับจำนวนจำกัดเพียง 100 คน

มอบรางวัลการประกวด ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ (Thailand Organic Innovation Award)

วันที่ 9 กรกฎาคม 2561  รศ.ดร.อัญชลี สงวนพงษ์ ประธานเครือข่ายนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์   ร่วมแสดงความยินดีสมาชิกเครือข่ายนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์  คุณพิพรรธ วงศ์วิวัฒน์ บริษัทชีวาดี โปรดักส์ และ คุณวิตราภรณ์ พิมพลา บริษัท Znya Organics Products ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 และ อันดับ 2 จากการประกวด ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ (Thailand Organic Innovation Award) ครั้งที่ 1 จัดโดย กรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. โชว์โมเดล “ตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อนสร้างความมั่นใจผู้บริโภค” สู่เกษตรออร์แกนิคด้วยต้นทุนต่ำกว่าเดิม 2 เท่า รับกระแส “คลีนฟู๊ด” มาแรงทั่วโลก

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โชว์โมเดล “การตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน” กิจกรรมสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อการผันตัวของเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรอินทรีย์ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิมถึง 2เท่า ผ่าน 6 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ให้ความรู้ด้านโซ่อุปทานใหม่ 2) ให้ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิต 3) ฝึกอบรมเทคนิคและการใช้อุปกรณ์เชิงปฏิบัติการ 4) จัดกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 5) จัดกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน และ 6) เชื่อมโยงด้านการตลาดกับนักลงทุน โดยปัจจุบันได้ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นครปฐม เชียงใหม่ สุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียงกว่า 200 ครัวเรือน ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ พร้อมเตรียมขยายพื้นที่ดำเนินการในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ นครนายก และสระแก้ว เป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ เกษตรอินทรีย์ทำให้เกษตรกรสามารถป้อนวัตถุดิบที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดกับกระแสเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

แหล่งที่มา : http://www.ryt9.com/s/prg/2595660 (3 กุมภาพันธ์ 2560)

กระทรวงพาณิชย์ จัดงาน Organic & Natural Expo 2014

กระแสดูแลสุขภาพกำลังอินเทรนด์สุดๆ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ฝากเชิญชวนให้ผู้รักสุขภาพทุกท่านมาเที่ยวงาน Organic & Natural Expo 2014 งานที่ระดมสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งอาหาร และเครื่องใช้ รวมทั้งโรงแรม สปา ร้านอาหารที่ล้วนแต่เป็นออร์แกนิคและธรรมชาติทั้งสิ้น งาน Organic & Natural Expo 2014 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 27 ก.ค.นี้ เวลา 10 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยเข้าชมงานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สอบถามโทร.02-229-3347หรือ organic2014.pco@ gmail. com เข้าไปกด Like ติดตามเรื่องราวดีๆของงานได้ที่เพจ Organic&NaturalExpo หรือ www. Organic naturalexpo.com

ที่มา: ThaiPR.net วันที่ 14 กรกฎาคม 2557

ภาพ: http://www.organic.moc.go.th/th/news/organic-and-natural-expo-2014

พบผู้ประกอบการ บริษัท FRUITA NATURAL

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมาได้เข้าพบผู้ประกอบการ 1 ราย บริษัท ฟรุตต้า เนเชอรัล จำกัด ให้คำแนะนำในเรื่อง ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems หรือ PGS) เป็นระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะขอมาตราฐานเกษตรอินทรีย์ 

กาดแม่โจ้2477

สืบสานพระราชปณิธาน “ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตร” 
วันที่ 19-25 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โดมออร์แกนิค มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

แหล่งที่มา : http://www.organic.mju.ac.th (17 กุมภาพันธ์ 2560)

BIOFACH CHINA 2017

เทรนด์รักษาสุขภาพกำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก ผู้คนหันมาบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จะต้องพิจารณาไปถึงการเพาะปลูกและการผลิตสินค้าเกษตรทั้งกระบวนการ รวมถึงการบริโภคอาหารที่ปราศจากสารเคมี หรือวัตถุดิบใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ท่ามกลางเทรนด์เหล่านี้ สินค้าออร์แกนิกจึงก้าวขึ้นมาเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคในตลาดใหญ่อย่างชาวจีน

ปัจจุบันรัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว (Go Green)ประกอบกับการที่ชาวจีนเริ่มที่ให้ความสำคัญแก่คุณภาพและความปลอดภัย กลุ่มผู้บริโภคสินค้าออร์แกนิกจึงมักเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงหรือชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญทางด้านสุขภาพ คนกลุ่มนี้ในจีนขยายตัวขึ้นทุกปีจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ตลาดสินค้าออร์แกนิกจีนในปี 2558 มีมูลค่าสูงถึง 8,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 307,000 ล้านบาท โอกาสของสินค้าออร์แกนิกไทยในจีนจึงขยายตัวขึ้นตามไปด้วย ผู้ประกอบการไทยทั้งในสาขาสินค้าออร์แกนิกและสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งหลายที่คิดจะตีตลาดจีนควรศึกษาตลาดและกฎระเบียบสินค้าออร์แกนิกในจีนก่อนจะเข้าไปค้าขายเต็มตัว เพื่อวางแผนกลยุทธ์การค้าให้สามารถแข่งขันกับสินค้าตัวเลือกอื่นๆ จากทั่วโลกได้ โอกาสศึกษาตลาดออร์แกนิกในจีนมาถึงแล้ว

แหล่งที่มา : http://www.thansettakij.com/2016/12/21/120570 (7 กุมภาพันธ์ 2560)

BIOFACH 2017

สินค้าอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์ เป็นงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในโลก โดยผู้เข้าร่วมงานจะต้องได้รับการรับรองตราสินค้าออร์แกนิกในระดับสากล ตามที่ผู้จัดงานได้กำหนดไว้ในระเบียบการสมัครเข้าร่วมงาน อาทิ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ IFOAM, มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ EU (EU Organic Program) และ USA (Nop-Natural Organic Program)(ไม่มีการจำหน่ายปลีก)

แหล่งที่มา  : http://application.ditp.go.th/activity/index/detail?activityid=5861 ( 7 กุมภาพันธ์ 2560 )

ปัญหาในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน และเลมอนฟาร์ม จัดงาน ‘Eat Right – Eat Organic’ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตื่นตัวให้กับผู้บริโภคหันมาบริโภคพืชผักอินทรีย์ (400 กรัม/วัน) เพื่อสร้างสุขภาพดีและยังมีส่วนช่วยส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้สามารถปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต่างๆ โดยเฉพาะมาตรฐาน Organic PGS ซึ่งเป็นการรับรองอย่างมีส่วนร่วม

ดังนั้น การส่งเสริมให้คนไทยหันมาบริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดภัยให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอภายใต้งาน Eat Right – Eat Organic นี้จะเป็นหนึ่งในความพยายามร่วมกันของภาครัฐและเอกชนซึ่งครอบคลุมเกษตรกร เครือข่ายสุขภาพ และเครือข่ายผลิตและจำหน่ายอาหารอินทรีย์เป็นแนวทางและการนำเสนอเครื่องมือใหม่ๆ ในการผลักดันให้คนไทยบริโภคพืชผักอินทรีย์ได้มากขึ้นซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาสุขภาพของคนไทย