พบผู้ประกอบการ บริษัท FRUITA NATURAL

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมาได้เข้าพบผู้ประกอบการ 1 ราย บริษัท ฟรุตต้า เนเชอรัล จำกัด ให้คำแนะนำในเรื่อง ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems หรือ PGS) เป็นระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะขอมาตราฐานเกษตรอินทรีย์ 

กาดแม่โจ้2477

สืบสานพระราชปณิธาน “ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตร” 
วันที่ 19-25 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โดมออร์แกนิค มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

แหล่งที่มา : http://www.organic.mju.ac.th (17 กุมภาพันธ์ 2560)

BIOFACH CHINA 2017

เทรนด์รักษาสุขภาพกำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก ผู้คนหันมาบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จะต้องพิจารณาไปถึงการเพาะปลูกและการผลิตสินค้าเกษตรทั้งกระบวนการ รวมถึงการบริโภคอาหารที่ปราศจากสารเคมี หรือวัตถุดิบใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ท่ามกลางเทรนด์เหล่านี้ สินค้าออร์แกนิกจึงก้าวขึ้นมาเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคในตลาดใหญ่อย่างชาวจีน

ปัจจุบันรัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว (Go Green)ประกอบกับการที่ชาวจีนเริ่มที่ให้ความสำคัญแก่คุณภาพและความปลอดภัย กลุ่มผู้บริโภคสินค้าออร์แกนิกจึงมักเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงหรือชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญทางด้านสุขภาพ คนกลุ่มนี้ในจีนขยายตัวขึ้นทุกปีจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ตลาดสินค้าออร์แกนิกจีนในปี 2558 มีมูลค่าสูงถึง 8,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 307,000 ล้านบาท โอกาสของสินค้าออร์แกนิกไทยในจีนจึงขยายตัวขึ้นตามไปด้วย ผู้ประกอบการไทยทั้งในสาขาสินค้าออร์แกนิกและสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งหลายที่คิดจะตีตลาดจีนควรศึกษาตลาดและกฎระเบียบสินค้าออร์แกนิกในจีนก่อนจะเข้าไปค้าขายเต็มตัว เพื่อวางแผนกลยุทธ์การค้าให้สามารถแข่งขันกับสินค้าตัวเลือกอื่นๆ จากทั่วโลกได้ โอกาสศึกษาตลาดออร์แกนิกในจีนมาถึงแล้ว

แหล่งที่มา : http://www.thansettakij.com/2016/12/21/120570 (7 กุมภาพันธ์ 2560)

BIOFACH 2017

สินค้าอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์ เป็นงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในโลก โดยผู้เข้าร่วมงานจะต้องได้รับการรับรองตราสินค้าออร์แกนิกในระดับสากล ตามที่ผู้จัดงานได้กำหนดไว้ในระเบียบการสมัครเข้าร่วมงาน อาทิ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ IFOAM, มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ EU (EU Organic Program) และ USA (Nop-Natural Organic Program)(ไม่มีการจำหน่ายปลีก)

แหล่งที่มา  : http://application.ditp.go.th/activity/index/detail?activityid=5861 ( 7 กุมภาพันธ์ 2560 )

ปัญหาในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน และเลมอนฟาร์ม จัดงาน ‘Eat Right – Eat Organic’ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตื่นตัวให้กับผู้บริโภคหันมาบริโภคพืชผักอินทรีย์ (400 กรัม/วัน) เพื่อสร้างสุขภาพดีและยังมีส่วนช่วยส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้สามารถปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต่างๆ โดยเฉพาะมาตรฐาน Organic PGS ซึ่งเป็นการรับรองอย่างมีส่วนร่วม

ดังนั้น การส่งเสริมให้คนไทยหันมาบริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดภัยให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอภายใต้งาน Eat Right – Eat Organic นี้จะเป็นหนึ่งในความพยายามร่วมกันของภาครัฐและเอกชนซึ่งครอบคลุมเกษตรกร เครือข่ายสุขภาพ และเครือข่ายผลิตและจำหน่ายอาหารอินทรีย์เป็นแนวทางและการนำเสนอเครื่องมือใหม่ๆ ในการผลักดันให้คนไทยบริโภคพืชผักอินทรีย์ได้มากขึ้นซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาสุขภาพของคนไทย

รายงานผลการจัดนิทรรศการ BioFach ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมัน

การจัดงาน BioFach ในวันที่ 13 – 16  กุมภาพันธ์ 2556 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมัน มีรายงานการจัดประชุม ดังนี้

1. ข้อมูลทางโครงสร้าง

ซึ่งมีพื้นที่การจัดนิทรรศการรวมทั้งหมด 72,600 ตารางเมตร 

2.  สื่อ

– มีผู้สื่อข่าวจำนวน 936 ราย จาก 43 ประเทศ
– มีการแสดงผลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 274,339 ครั้ง จากผู้เข้าชม 136 ประเทศ ที่เข้าเว็บเพจ www.biofach.de (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2012 ถึงกุมภาพันธ์ 2013)
– การแสดงผลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 28,589 ที่เข้าชมเว็บไซต์ m.biofach.de ในมือถือ (กุมภาพันธ์ 2013)  

3.  การเข้าประชุม

– มีผู้เข้าร่วมประชุม 7533 ราย โดยมีการประชุมที่น่าสนใจ เรียงลำดับ ดังนี้
1.BioFach Forum 
2.Key theme “Shared Values” 
3.Fachhandels Forum (German organic trade forum) 
4.Vivaness Forum 5.HORECA Forum  

4. ผลการลงทะเบียนของผู้เข้าชม 4.1 ผู้เข้าเยี่ยมชมงาน จำนวน 130 ประเทศ

ซึ่งมี 10 ประเทศจากต่างประเทศเข้าร่วมงาน ดังนี้
1. ออสเตรีย
2. อิตาลี
3. ฝรั่งเศส
4. เนเธอร์แลนด์
5. โปแลนด์
6. สวิตเซอร์แลนด์
7. สเปน
8. สาธารณรัฐเช็ก
9. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
10. สโลวีเนีย

4.2 ผู้เข้าชมงานแบ่งตามภาคส่วนของเศรษฐกิจ

 4.3 ผู้เข้าชมงานแบ่งตามอาชีพ

5. เหตุผลที่เข้าร่วมงาน
5.1 เหตุผลหลักที่เข้าร่วมชมงาน

5.2 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชมงาน

5.3 ความสนใจของผู้เข้าชมงานแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจ

5.4 อำนาจการตัดสินใจในการซื้อขาย
92% ของผู้เข้าชมงาน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อสินค้าภายในงาน 

5.5 โอกาสในการติดต่อกับลูกค้า
99% ของผู้เข้าชมงานได้รับความพึงพอใจที่มีโอกาสในการเข้าร่วมงาน โดยได้รับข้อมูลและสามารถสร้างเครือข่ายผู้ติดต่อได้กว้างขึ้น

5.6 การเข้าร่วมงาน BioFach ครั้งต่อไป
84% ของผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดพบว่า สนใจที่จะเข้าร่วมงานงาน BioFach ประเทศเยอรมัน ในปี 2557

5.7 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงานต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในงาน
ผู้เข้าร่วมงาน 22-44% ให้ความเห็นว่า การติดต่อค้าขายภายในงานส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จนเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ดี 

6. ผลการสำรวจผู้เข้าจัดงาน
6.1 ผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดแสดง

6.2 วัตถุประสงค์ที่เข้าร่วมจัดแสดงในงาน

6.3 การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
93% ของผู้เข้าร่วมจัดงานสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของพวกเขาได้

6.4 ความสำเร็จโดยรวม
87% ของผู้เข้าร่วมจัดงานได้รับความพึงพอใจที่มีโอกาสในการเข้าร่วมจัดงาน 

6.5 การติดต่อดำเนินธุรกิจ
83% ของผู้เข้าร่วมจัดงานได้รับการติดต่อจากผู้เข้าชมเพื่อดำเนินธุรกิจ 

6.6 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่
91% ของผู้เข้าร่วมงานสามารถสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ได้

6.7 ผู้เข้าร่วมจัดแสดงในงานที่ได้รับการเข้าชมจาก สาขาดังต่อไปนี้

6.7 ความตั้งใจที่จะจัดแสดงที่ BioFach ครั้งต่อไป
82% ของผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานวางแผนที่จะจัดแสดงที่ BioFach อีกครั้งในปี 2014

6.8 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในงาน
ผู้เข้าร่วมงาน 12-42% ให้ความเห็นว่า การติดต่อค้าขายภายในงานส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จนเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ดี

ปัญหาและอุปสรรคของการเกษตรอินทรีย์ไทย ด้านการผลิตและการส่งเสริมการตลาด

การเกษตรทางเลือกมีหลากหลายรูปแบบหนึ่งในนั้นคือเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศในทวีปยุโรปที่ประสบปัญหาจากการทำการเกษตรเคมีมาก่อน จึงก่อให้เกิดกระแสความสนใจในการเกษตรทางเลือกที่สามารถลดผลกระทบจากกระบวนการผลิตได้ สำหรับการเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากเกิดปัญหาทั้งในด้านการผลิตและการส่งเสริมการตลาดสาเหตุที่ทำให้ตลาดเกษตรอินทรีย์ไม่ประสบความสำเร็จสามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิด  “ความล้มเหลวของตลาด” อันมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวของตลาด  ดังนี้1.  การมีอำนาจเหนือตลาด  (market power)  ของเกษตรกร  เนื่องจากยังมีอุปทานหรือจำนวนเกษตรกรและพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่มาก2.  ผลกระทบภายนอก (Externalities)  การที่ระบบการผลิตแบบเกษตรเคมีมีผลกระทบภายนอก  การผลิตด้วยเกษตรอินทรีย์ที่คำนึงถึงผลกระทบภายนอกโดยเอาต้นทุนทางสังคมมารวมเข้ากับต้นทุนการผลิต  ทำให้ต้องมีการจ้างแรงงานมาดูแลมากขึ้นทดแทนกับการไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  จึงทำให้ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์สูงกว่าสินค้าอื่น ๆ มากถึง 30-60 %  3.  ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล (Imperfect information)  ผู้บริโภคมีข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์น้อยมาก  จึงไม่ตระหนักถึงความสำคัญ  และไม่นิยมบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์เท่าใดนักสำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์นั้น  จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน (เกษตรกรและผู้บริโภค)เพื่อสร้างเสริมความรู้  ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์  และคุณประโยชน์ของการเกษตรอินทรีย์ในแง่ที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศอีกด้วย ที่มา:  ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดย ศริณ แซ่ลิ่ม (2550)

ปัญหาในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

ปัจจุบันการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศไทยเกษตรอินทรีย์เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลในการปรับทิศทางการผลิตในภาคการเกษตรให้สอดรับกับสถานการณ์โลก ซึ่งปัญหาในระยะที่ผ่านมาสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย มีดังนี้คือ

     1. ขาดการรับรองมาตรฐาน การที่ยังไม่มีหน่วยงานของราชการออกมาให้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ยังไม่เป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง ผู้บริโภคไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรทั่วไป ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ทำให้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมั่นใจในสินค้า และยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์

          2. การผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับสินค้าเกษตรอนามัยเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผัก มีเพียงข้าวสารบรรจุถุงเท่านั้นที่สามารถผลิตได้ในระดับสินค้าเกษตรอินทรีย์และส่วนใหญ่เน้นการส่งออกต่างประเทศมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ ปัญหาบางส่วนเนื่องจากเกษตรกรยังไม่มีความรู้เพียงพอในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทางกรมส่งเสริมการเกษตรเริ่มมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปให้คำแนะนำและให้คำปรึกษากับเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรไทย คือ ข้าว ผัก ผลไม้เมืองร้อน เครื่องเทศ สมุนไพร ชา กาแฟ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ประมง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ซึ่งสินค้าเหล่านี้ไทยมีความได้เปรียบในการผลิต ดังนั้นการหันมาผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการจึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     3. มีการผลิตเพียงไม่กี่ชนิด ไม่มีความหลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกรับประทานมากนัก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งให้การส่งเสริมและคำปรึกษาโดยเฉพาะในเรื่องตลาดรองรับสินค้า เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจทั้งในด้านการผลิตและการตลาด

     4. ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์อยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์แพงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 ทำให้ตลาดจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูง สาเหตุที่สินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาแพงคือการผลิตยังไม่มากและแหล่งผลิตอยู่กระจัดกระจาย สินค้าเกษตรอินทรีย์มีโอกาสถูกศัตรูพืชสร้างความเสียหายได้ง่ายและนำหนักของสินค้าเกษตรอินทรีย์จะเบากว่าสินค้าเกษตรทั่วไปทำให้เมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตและการขนส่งแล้วจะสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป

     ดังนั้นในการพัฒนาไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดสารพิษนั้นยังต้องอาศัยเวลาและขั้นตอนการพัฒนาอีกระยะหนึ่ง รวมทั้งยังต้องมีการแก้ปัญหาและอุปสรรคในปัจจุบันให้หมดไปจึงจะทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการผลิต และการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกได้

ที่มา:  ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2551)

การใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์

สาธารณรัฐอิตาลี เป็นประเทศที่มีการนำมาตรการทางภาษีอย่างจริงจังมาใช้ในการส่งเสริมการใช้งานพลาสติกชีวภาพ โดยเริ่มต้นด้วยการออกกฎหมายห้ามจำหน่ายและแจกถุงพลาสติกทุกประเภท ยกเว้นถุงพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพที่มีการรับรองว่าสามารถสลายตัวได้ (compostable plastics) ตามมาตรฐานของ EN 13432:2002 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกนำเสนอโดยสมาชิกสภาราษฎรฝ่ายค้าน ด้วยการสนับสนุนจากภาคประชาชนและอุตสาหกรรม เพื่อมีจุดมุ่งหวังเดียวกันในเรื่องการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงแต่การออกกฎหมายเท่านั้น แต่ได้มีเป้าหมายนโยบายที่ชัดเจนว่าในปี พ.ศ. 2555 ขยะอินทรีย์จะถูก รวบรวมด้วยถุงสลายตัวได้ร้อยละ 65 และนำไปผลิตเป็นปุ๋ย รวมถึงการสร้างกำแพงในการลดการฝังกลบด้วยการเพิ่มค่าการกำจัดสำหรับการฝังกลบอีกร้อยละ 20 ยูโร นอกจากนี้ ยังได้มีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานอย่างโรงผลิตปุ๋ยหมักจากขยะ (composting plant) ที่ขณะนี้มีอยู่ทั้งหมด 240 แห่งทั่วประเทศ มีขยะอินทรีย์เข้ามา 3.7 ล้านตันต่อปี และผลิตเป็นปุ๋ยได้ 1.34 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีการบริหารงานโดยภาคเอกชนและสามารถดำเนินการจนมีกำไรจากค่ากำจัดและปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้

ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินนี้ คือ การได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่มีการคัดแยกขยะต้นทางอย่างสมบรูณ์ โดยแต่ละบ้านจะใช้ถุงพลาสติกชีวภาพที่ได้จากห้างสรรพสินค้ามาใช้แยกขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เช่น ถุงพลาสติกชีวภาพผสมแป้งของบริษัท Novamont ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพาวนด์พลาสติกชีวภาพที่ใช้แป้งเป็นสารตัวเติมหลัก โดยพัฒนาองค์ความรู้มาจากหน่วยงานวิจัยของอิตาลี และเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลาสติกชีวภาพ และเป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากกว่า 1,000 สิทธิบัตร จากนั้นจะมีบริษัทมาเก็บแยกเพื่อไปรวบรวม และนำขยะอินทรีย์ไปผลิตปุ๋ยหมัก โดยมีการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยให้มีคุณภาพสูงและควบคุมคุณภาพได้ในการผลิตระดับอุตสาหกรรม

Bioplastics@German

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นอีกประเทศสำคัญที่มีการสนับสนุนการใช้พลาสติกชีวภาพโดยการออกกฎหมายควบคุมการใช้พลาสติก โดยมีการสนับสนุนการใช้พลาสติกชีวภาพที่มีวัตถุดิบใหม่ที่ปลูกทดแทนได้ (renewable resource) โดยมีตัวอย่างที่สำคัญ คือ เมือง Bad Durkheim ซึ่งได้ร่วมมือกับบริษัท BASF สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBAT โดยได้ดำเนินการโครงการนำร่องการใช้ถุงขยะพลาสติกชีวภาพเพื่อคัดการขยะอินทรีย์ และนำมากำจัดในโรงผลิตปุ๋ยหมัก เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้ประชาชนทราบว่ามีการใช้ถุงพลาสติกชีวภาพจะมีคุณภาพดีกว่าการใช้ถุงกระดาษในการคัดแยกแบบในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อถุงขยะพลาสติกชีวภาพจากเทศบาล และต่อมาได้มีการประกาศนโยบายที่มีความชัดเจน โดยกำหนดเป็นข้อกฎหมายของเมืองให้ใช้ถุงขยะพลาสติกชีวภาพในการคัดแยกขยะอินทรีย์

แนวทางของนโยบายการใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อจัดการขยะอินทรีย์ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ได้ริเริ่มและสนับสนุนการดำเนินโครงการนำร่องการเพื่อจัดการขยะอินทรีย์ ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และชุมชนมีความตระหนักในการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็ง 2) อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้าหมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวบนเกาะ มีพื้นที่จำกัดในการกำจัดขยะ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานโครงการลักษณะนี้ เพื่อจะได้ข้อมูลพื้นฐานและแนวทางที่ชัดเจน สำหรับการสนับสนุนการสร้างนโยบายและมาตรการของภาครัฐที่ต้องมีการสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจร และการส่งเสริมและการจัดการขยะอย่างคุ้มค่าต่อไป

นวัตกรรมเพื่อการส่งออก…นำร่องสนับสนุน 100 บริษัท ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารและอาหารเสริม

     ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังก่อให้เกิดการรวมตัวของตลาดประเทศสมาชิกเข้ามาเป็นตลาดเดียวที่ใหญ่มหึมาในปี พ.ศ. 2558 สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของไทยและการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องเร่งพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจของตน ตลอดจน สร้างความแตกต่างให้กับสินค้า เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองและการแข่งขันกับประเทศต่างๆ รองรับความต้องการจากทั่วโลก

     การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงถือเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของผู้ ประกอบการไทย ดังนั้นความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานเครือข่าย จึงถือเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะ เกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

     สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. และกรมส่งเสริมการส่งออก ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ จึงได้ร่วมมือกันกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ ไทยให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม ทั้งในรูปแบบสินค้าและบริการใหม่ๆ เข้าไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้อย่างเข้มแข็ง พร้อมจับมือเครือข่ายเอกชนร่วมดำเนินการพัฒนาธุรกิจการค้าของผู้ประกอบการ ไทยให้มีความพร้อมในการแข่งขัน ภายใต้ โครงการ “นวัตกรรมเพื่อการส่งออก – Innovation 4 Export”

     กิจกรรม “100 บริษัท กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารและอาหารเสริมเพื่อการส่งออก” เป็นกิจกรรมนำร่องภายใต้โครงการความร่วมมือดังกล่าวที่มุ่งหวังเปิดโอกาสให้ ผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านอาหารและอาหารเสริม ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เข้ารับการสนับสนุนด้านเงินทุนและการพัฒนาตลาดเพื่อการ ส่งออกโดยเปิดรับสมัครบริษัทที่ผลิตอาหารและอาหารเสริมส่งผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่วันนี้ถึง 20 สิงหาคม 2555 ซึ่ง 100 บริษัทที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับโอกาสแสดงผลงานและเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อ รับสิทธิประโยชน์การขยายผลธุรกิจนวัตกรรมด้านต่างๆ ในวันอังคารที่ 4 กันยายน 2555การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยภายใต้โครงการ “นวัตกรรม เพื่อการส่งออก Innovation 4 Export” จะช่วยพัฒนาสินค้าไทยตั้งแต่ต้นสายถึงปลายทาง ขอเพียงผู้ประกอบการมีความพร้อมที่จะลุยตลาดต่างประเทศร่วมกันด้วยผลิตภัณฑ์ ที่มีความเป็นนวัตกรรมไม่ซ้ำใคร

    การสัมภาษณ์ 100 บริษัทที่ได้รับคัดเลือกจะทำให้เราจัดกลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่ในระยะต่างๆ ของการขยายธุรกิจได้ ผู้ประกอบการรายใดมีแนวคิดใหม่อยากพัฒนา สนช. เองสามารถช่วยเหลือด้านเงินทุนในการทดลองผลิตสินค้านวัตกรรมนั้นๆ ได้ตามกลไกการสนับสนุนของหน่วยงาน ผู้ประกอบการรายใดมีสินค้าที่น่าสนใจอยู่แล้ว ขาดเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจ เราก็จะให้เข้า Innovative Business Development Program ซึ่งจะมีทีมที่ปรึกษาช่วยในเรื่องการสร้างจุดเด่น สร้างตราสินค้า เพื่อความน่าสนใจของธุรกิจ หรือธุรกิจใดมีสินค้าพร้อมจำหน่ายก็เข้า New Market Investment Program ที่เราจะจัดหาผู้ร่วมทุนทางการค้าเพื่อพัฒนาตลาดและยอดขาย พร้อมจัดหา New Market Place พื้นที่แสดงสินค้าแห่งใหม่ ที่เน้นจุดขายเรื่อง “นวัตกรรม” เพื่อเป็นหน้าร้านในการเจรจาธุรกิจ โดยบริษัทนวัตกรรมที่มีความพร้อมเหล่านี้ ก็จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากกรมส่งเสริมการส่งออกซึ่งเป็นหน่วยงาน ในความร่วมมือของ สนช. ที่จะพาผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยไปบุกตลาดต่างประเทศ ทั้งในส่วนของการออกงานแสดงสินค้าและการนัดหมายเจรจาธุรกิจ

     กิจกรรมนำ ร่องครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารและอาหารเสริมของ ไทย ที่จะได้มีโอกาสก้าวไกลสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่แปลกใหม่ไปแข่งขันในตลาด สากล ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดและส่งใบสมัครได้ที่ 02-644 6000 ต่อ 135 (ชานนท์) โทรสาร: 02-644 8443 อีเมล์: i4e@nia.or.th เว็บไซต์: www.nia.or.th/i4