โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ หลักสูตร “เกษตรอินทรีย์ 101”

     สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมูลนิธสานใยแผ่นดิน/กรีนเนท กำหนดจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ หลักสูตร “เกษตรอินทรีย์ 101” รุ่นที่ 1(รุ่นละ 20 ท่าน) ในวันพฤหัสบดีที่ 21 และวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2557 ณ อาคารไทยศรี ชั้น 29 (สถานี BTS กรุงธนบุรี)

     ให้กับผู้บริหารระดับกลางของหน่วยงานธุรกิจเอกชนที่สนใจเริ่มโครงการธุรกิจเกษรอินทรีย์หรือได้เริ่มทำเกษตรออินทรีย์แล้วและต้องการพัฒาธุรกิจเกษรอินทรีย์ห้เติบโตขึ้น โดยมีวัตุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอินทรีย์และสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอินทรีย์ใหม่  

     ขอเรียนเชิญสมาชิก เครือข่ายสมาชิกตลอดจนผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดการสัมมนาและส่งใบสมัครเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรเกษรอินทรีย์ 101 ได้ตามเอกสารแนบ

http://oainnetwork.info/index.php/2011-10-19-14-19-00?download=9:1

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ฯ ร่วมกับ มก. จัดงาน เกษตรแฟร์” ปี 57

     รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงการจัดงาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เกษตรแฟร์” ประจำปี 2557 ว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ได้จัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และในปี 2557 จะเริ่มงานตั้งแต่ที่ 20-29 มิถุนายน 2557 ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น. ณ บริเวณหอประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้แนวคิด “ยกระดับชาวนาไทย ก้าวไกลไปกับเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เกษตรแฟร์” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหารายได้สมทบมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ในการที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆ และการไปช่วยเหลือสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรและประชาชนได้ประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง รวมทั้งเพื่อเผยแพร่กิจกรรมผลการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และนวัตกรรมผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เกี่ยวกับข้าวมาจัดแสดงและสาธิต อาทิ นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด คือ อุปกรณ์การหย่อนกล้าข้าวแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภฯ) เครื่องสีข้าวขนาดต่างๆ การแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ เช่น ขนมจีนแห้งข้าวไรซ์เบอร์รี่คัพ ข้าวหุงสุก 3 นาที ขนมมินิคัพเค้ก ข้าวตูเอกซ์เพรส เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ เช่น ไก่ดำเคยูภูพาน การเลี้ยงไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ระบบอินทรีย์ การเลี้ยงไส้เดือน รวมทั้งชุดตรวจสอบอินทรีย์วัตถุในดิน ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพเสริมและเป็นประโยชน์ทั้งในครัวเรือนและชุมชน

     อนึ่ง ในวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2557 เวลา 15.00 น. ณ บริเวณหน้าหอประชุม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานและทอดพระเนตรกิจกรรมของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และกิจกรรมภายในงานด้วย

     ด้าน รศ.ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย แถลงในส่วนของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ว่า ทางมูลนิธิฯ ได้รับความร่วมมือจาก

     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการที่จะช่วยเหลือและยกระดับชาวนาไทยให้หันมาใช้ระบบอินทรีย์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปลูกข้าวและทำนาอย่างครบวงจรและถูกวิธี ซึ่งจะเน้นการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบอินทรีย์ ตั้งแต่การทดสอบคุณภาพดิน การนำเทคโนโลยีการทำนารูปแบบใหม่ๆ เช่น อุปกรณ์หย่อนกล้าข้าวแบบประณีต เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ได้ประดิษฐ์คิดค้นในการทำนาโดยใช้อุปกรณ์นี้หย่อนกล้าข้าวลงไปในนาตม เพื่อให้ชาวนานำไปใช้ได้จริง รวมไปถึงการแปรรูปข้าวที่เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้แก่ชาวนา เช่น การแปรรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่ การทำขนมจีนไรซ์เบอร์รี่คัพ ขนมครกจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ฯลฯ สินค้าในพระดำริ ผลพลอยพอเพียงที่ได้จากเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์แปรรูปมากมายมาจำหน่าย

     นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้าซึ่งได้แบ่งเป็นโซน 11 โซน คือ โซนฟ้าบันดาลจำหน่ายสัตว์เลี้ยง โซนหยาดน้ำฟ้าพฤกษางามจำหน่ายต้นไม้ โซนเรือนฟ้างามจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ โซนหนึ่งฟ้าหนึ่งตะวันจำหน่ายสินค้าโอท็อป โซนฟ้างามตลาดน้ำเกษตร โซนฟ้าชวนช็อป โซนฟ้าชวนชิม โซนมหัศจรรย์วันฟ้าเปิด โซนฟ้าจรดดิน โซนอิ่มอร่อย- ลอยฟ้า และโซนฟ้าเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) พาวิลเลี่ยน เป็นโซนของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ประกอบด้วย การทำแปลงสาธิตการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ สินค้าของมูลนิธิฯ ปีนี้มีคอลเลคชั่นใหม่ๆ มาจำหน่าย อาทิ ผ้ากันเปื้อน หมวก ร่ม สินค้าจากผลพลอยพอเพียง ผลิตผลเกษตรอินทรีย์ที่ทางมูลนิธิฯ ไปส่งเสริม ช่วยเหลือเกษตรกร นวัตกรรมผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และตัวอย่างแปลงสาธิตของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมาร่วมจัดแสดงด้วย

     จึงขอเชิญประชาชน และผู้สนใจมาชมผลงานต่างๆ รวมทั้งมาอุดหนุนสินค้าในงาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เกษตรแฟร์” ปี 2557 ระหว่างวันที่ 20-29 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00-22.00 น. ณ บริเวณหอประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน


ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง วันที่ 19 มิถุนายน 2557

เปิดตัวหนังสือ “ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม”

    เมื่อเกษตรกรรายย่อยผู้มุ่งมั่นผลิตอาหารในวิถีเกษตรอินทรีย์ กับผู้บริโภคผู้เห็นคุณค่าของอาหารไร้สารพิษ สนับสนุนความเป็นธรรมด้านการตลาดและใส่ใจต่อระบบนิเวศ มาเจอกับผู้ประการสังคมและนักพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ เขาเหล่านี้ได้จับมือประสานใจ ร่วมกันหาแนวทางเพื่อสร้างหลักประกันคุณภาพผลผลิตที่อยู่บนฐานของการให้เกียรติกับทุกชีวิต รูปแบบการตรวจสอบรับรองทางเลือกที่เรียกว่า “พีจีเอส” หรือ “ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม” จึงเกิดขึ้น และต่อไปนี้คือตัวอย่างเรื่องราวของกลุ่มเกษตรกรจากประเทศต่างๆ ที่ร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรค สร้างหลักประกันคุณภาพแนวทางนี้ขึ้นมาจนสัมฤทธิ์ผล

หากใครสนใจหนังสือเล่มนี้สามารถดูรายละเดือดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.suan-spirit.com/book.php?id=248

นานมีบุ๊คส์ เปิดตัวหนังสือ “Organic Farm สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นที่ไร่”

จากความรักในธรรมชาติและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทำให้ คุณโช โอกะ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยตกหลุมรักเมืองไทยจนพลิกผันตัวเองมาทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ เริ่มต้นจากศูนย์และบุกเบิกจนประสบความสำเร็จในที่สุด คุณโช โอกะ นำความสำเร็จและประสบการณ์ถ่ายทอดผ่านหนังสือ “Organic Farm สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นที่ไร่”

ในโอกาสนี้ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด จึงได้จัดงานเปิดตัวหนังสือ “Organic Farm สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นที่ไร่” โดยมี คุณโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน ร่วมด้วย สุวดี จงสถิตย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด และพูดคุยกับนักเขียน คุณโช โอกะ ชาวญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์บนผืนแผ่นดินไทย กับหลากหลายเรื่องราวมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นที่ไร่แห่งนี้

– จากแปลงผักเล็กๆ สู่ฟาร์มแบบครบวงจร

– ผู้คิดค้นบะหมี่ผักโมโรเฮยะชื่อดัง

– การส่งผลผลิตถึงมือผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

– ความพยายามและความคิดสร้างสรรค์ในการขยายตลาดไปต่างประเทศ

– ฯลฯ

พร้อมชมคลิปวีดิโอพิเศษจาก ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ผลดี ที่จะมาเผยความประทับใจต่อคุณโช โอกะ ดำเนินรายการโดย คุณบารมี นวนพรัตน์สกุล ในวันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2557 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ร้าน ซัสเทน่า ซอยสุขุมวิท 39 พร้อมรับของที่ระลึกสุดพิเศษ ชุด Gift Set ออร์แกนิค (ประกอบด้วย บะหมี่ผักโมโรเฮยะ แยมออร์แกนิคเอ็นไซม์ และชาสมุนไพรออร์แกนิค)

ที่มา: ThaiPR.net  วันพุธที่ 30 เมษายน 2557

“พาณิชย์” จับมือเซ็นทรัลจัดงานเกษตรอินทรีย์ Organic Fresh Fair 2014 วันที่ 27 พ.ค. – 2 มิ.ย. 2557

     “พาณิชย์” จับมือเซ็นทรัลจัดงานเกษตรอินทรีย์หวังปลุกกระแสรักสุขภาพ ขนสินค้าอินทรีย์เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก และสินค้าชื่อดังจาก 4 ภาคมาจำหน่ายตรงให้ผู้บริโภค พร้อมจัดกิจกรรมโปรโมตต่อเนื่อง นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมกับบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้บริหารร้านท็อปส์และเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย (TOTA) จัดงาน Organic Fresh Fair 2014 วันที่ 27 พ.ค. – 2 มิ.ย. 2557 ที่ชั้น G เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เพื่อโปรโมตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย และนำสินค้าเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษมาให้ชิมและชอป ซึ่งเป็นการกระตุ้นกระแสการรักสุขภาพที่ผู้บริโภคให้ความสนใจกับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

     สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่จะนำมาจัดแสดงในครั้งนี้ เช่น สินค้าออร์แกนิกจากโครงการเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ข้าวกล้องเพาะงอกจากชุมชนชาวนาไทย เครื่องแกงและซอสอินทรีย์คุณภาพที่คัดสรรมาโดยเฉพาะจากสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย และสินค้าออร์แกนิกนานาชนิดและสินค้าขึ้นชื่อ 4 ภาค เช่น ทุเรียนหลงและหลินลับแลจากตราด ชมพู่เพชรสายรุ้งจากเพชรบุรี ลิ้นจี่จักรพรรดิจากเชียงใหม่ ส้มโอทับทิมสยาม เงาะ มังคุด ผักปลอดสารพิษ รวมทั้งอาหารเลิศรส เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงฯ จะจัดงาน Organic and Natural Expo 2014 วันที่ 24–27 ก.ค. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมารักสุขภาพโดยการเลือกบริโภคและใช้บริการสินค้าออร์แกนิก และผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการสินค้าออร์แกนิกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปีนี้จะจัดยิ่งใหญ่กว่าทุกปี เพราะจะจัดช่วงเดียวกันกับการจัดงานมหกรรมอาหารและสุขภาพวิถีไทย โดยภาคีเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ที่อิมแพค เมืองทองธานี เพื่อเอาใจคนรักษ์สุขภาพ

     นางศรีรัตน์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ได้รวบรวมผู้ประกอบการสินค้าออร์แกนิกและสินค้าธรรมชาติจากทั่วประเทศมาให้เลือกชอปกันได้อย่างเต็มที่ ทั้งข้าว ผัก ผลไม้ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง ผ้าฝ้าย สำลี รวมทั้งบริการออร์แกนิก เช่น โรงแรม สปา ร้านอาหาร ร้านกรีน” ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยังจะจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในทุกๆ มิติ ตั้งแต่ด้านการผลิต การรับรองมาตรฐาน การตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายผู้ผลิต และสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคในการดูแลรักษาสุขภาพผ่านสินค้าออร์แกนิก เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อย่างเจาะลึก ส่วนงานอื่นๆ จะเข้าร่วมงานกรีนแฟร์ ครั้งที่ 7 ที่จัดขึ้นวันที่ 4-6 ก.ค. ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพฯ โดยมีเกษตรกร ผู้ประกอบการจากตลาดนัดสีเขียว 4 ภูมิภาค นำสินค้ามาจัดจำหน่าย และจะมีการจัดกิจกรรมสีเขียวต่างๆ และนำสินค้าออร์แกนิกเข้าร่วมจัดแสดงในงานแสดงสินค้าอาหาร Thaifex-World of Food Asia 2014 ที่อิมแพค เมืองทองธานีด้วย

ที่มา : www.thailandexhibition.com วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 

รายงานผลการจัดนิทรรศการ BioFach ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมัน

การจัดงาน BioFach ในวันที่ 13 – 16  กุมภาพันธ์ 2556 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมัน มีรายงานการจัดประชุม ดังนี้

1. ข้อมูลทางโครงสร้าง

ซึ่งมีพื้นที่การจัดนิทรรศการรวมทั้งหมด 72,600 ตารางเมตร 

2.  สื่อ

– มีผู้สื่อข่าวจำนวน 936 ราย จาก 43 ประเทศ
– มีการแสดงผลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 274,339 ครั้ง จากผู้เข้าชม 136 ประเทศ ที่เข้าเว็บเพจ www.biofach.de (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2012 ถึงกุมภาพันธ์ 2013)
– การแสดงผลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 28,589 ที่เข้าชมเว็บไซต์ m.biofach.de ในมือถือ (กุมภาพันธ์ 2013)  

3.  การเข้าประชุม

– มีผู้เข้าร่วมประชุม 7533 ราย โดยมีการประชุมที่น่าสนใจ เรียงลำดับ ดังนี้
1.BioFach Forum 
2.Key theme “Shared Values” 
3.Fachhandels Forum (German organic trade forum) 
4.Vivaness Forum 5.HORECA Forum  

4. ผลการลงทะเบียนของผู้เข้าชม 4.1 ผู้เข้าเยี่ยมชมงาน จำนวน 130 ประเทศ

ซึ่งมี 10 ประเทศจากต่างประเทศเข้าร่วมงาน ดังนี้
1. ออสเตรีย
2. อิตาลี
3. ฝรั่งเศส
4. เนเธอร์แลนด์
5. โปแลนด์
6. สวิตเซอร์แลนด์
7. สเปน
8. สาธารณรัฐเช็ก
9. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
10. สโลวีเนีย

4.2 ผู้เข้าชมงานแบ่งตามภาคส่วนของเศรษฐกิจ

 4.3 ผู้เข้าชมงานแบ่งตามอาชีพ

5. เหตุผลที่เข้าร่วมงาน
5.1 เหตุผลหลักที่เข้าร่วมชมงาน

5.2 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชมงาน

5.3 ความสนใจของผู้เข้าชมงานแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจ

5.4 อำนาจการตัดสินใจในการซื้อขาย
92% ของผู้เข้าชมงาน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อสินค้าภายในงาน 

5.5 โอกาสในการติดต่อกับลูกค้า
99% ของผู้เข้าชมงานได้รับความพึงพอใจที่มีโอกาสในการเข้าร่วมงาน โดยได้รับข้อมูลและสามารถสร้างเครือข่ายผู้ติดต่อได้กว้างขึ้น

5.6 การเข้าร่วมงาน BioFach ครั้งต่อไป
84% ของผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดพบว่า สนใจที่จะเข้าร่วมงานงาน BioFach ประเทศเยอรมัน ในปี 2557

5.7 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงานต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในงาน
ผู้เข้าร่วมงาน 22-44% ให้ความเห็นว่า การติดต่อค้าขายภายในงานส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จนเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ดี 

6. ผลการสำรวจผู้เข้าจัดงาน
6.1 ผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดแสดง

6.2 วัตถุประสงค์ที่เข้าร่วมจัดแสดงในงาน

6.3 การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
93% ของผู้เข้าร่วมจัดงานสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของพวกเขาได้

6.4 ความสำเร็จโดยรวม
87% ของผู้เข้าร่วมจัดงานได้รับความพึงพอใจที่มีโอกาสในการเข้าร่วมจัดงาน 

6.5 การติดต่อดำเนินธุรกิจ
83% ของผู้เข้าร่วมจัดงานได้รับการติดต่อจากผู้เข้าชมเพื่อดำเนินธุรกิจ 

6.6 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่
91% ของผู้เข้าร่วมงานสามารถสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ได้

6.7 ผู้เข้าร่วมจัดแสดงในงานที่ได้รับการเข้าชมจาก สาขาดังต่อไปนี้

6.7 ความตั้งใจที่จะจัดแสดงที่ BioFach ครั้งต่อไป
82% ของผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานวางแผนที่จะจัดแสดงที่ BioFach อีกครั้งในปี 2014

6.8 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในงาน
ผู้เข้าร่วมงาน 12-42% ให้ความเห็นว่า การติดต่อค้าขายภายในงานส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จนเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ดี

ปัญหาและอุปสรรคของการเกษตรอินทรีย์ไทย ด้านการผลิตและการส่งเสริมการตลาด

การเกษตรทางเลือกมีหลากหลายรูปแบบหนึ่งในนั้นคือเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศในทวีปยุโรปที่ประสบปัญหาจากการทำการเกษตรเคมีมาก่อน จึงก่อให้เกิดกระแสความสนใจในการเกษตรทางเลือกที่สามารถลดผลกระทบจากกระบวนการผลิตได้ สำหรับการเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากเกิดปัญหาทั้งในด้านการผลิตและการส่งเสริมการตลาดสาเหตุที่ทำให้ตลาดเกษตรอินทรีย์ไม่ประสบความสำเร็จสามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิด  “ความล้มเหลวของตลาด” อันมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวของตลาด  ดังนี้1.  การมีอำนาจเหนือตลาด  (market power)  ของเกษตรกร  เนื่องจากยังมีอุปทานหรือจำนวนเกษตรกรและพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่มาก2.  ผลกระทบภายนอก (Externalities)  การที่ระบบการผลิตแบบเกษตรเคมีมีผลกระทบภายนอก  การผลิตด้วยเกษตรอินทรีย์ที่คำนึงถึงผลกระทบภายนอกโดยเอาต้นทุนทางสังคมมารวมเข้ากับต้นทุนการผลิต  ทำให้ต้องมีการจ้างแรงงานมาดูแลมากขึ้นทดแทนกับการไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  จึงทำให้ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์สูงกว่าสินค้าอื่น ๆ มากถึง 30-60 %  3.  ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล (Imperfect information)  ผู้บริโภคมีข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์น้อยมาก  จึงไม่ตระหนักถึงความสำคัญ  และไม่นิยมบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์เท่าใดนักสำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์นั้น  จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน (เกษตรกรและผู้บริโภค)เพื่อสร้างเสริมความรู้  ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์  และคุณประโยชน์ของการเกษตรอินทรีย์ในแง่ที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศอีกด้วย ที่มา:  ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดย ศริณ แซ่ลิ่ม (2550)

ปัญหาในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

ปัจจุบันการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศไทยเกษตรอินทรีย์เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลในการปรับทิศทางการผลิตในภาคการเกษตรให้สอดรับกับสถานการณ์โลก ซึ่งปัญหาในระยะที่ผ่านมาสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย มีดังนี้คือ

     1. ขาดการรับรองมาตรฐาน การที่ยังไม่มีหน่วยงานของราชการออกมาให้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ยังไม่เป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง ผู้บริโภคไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรทั่วไป ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ทำให้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมั่นใจในสินค้า และยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์

          2. การผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับสินค้าเกษตรอนามัยเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผัก มีเพียงข้าวสารบรรจุถุงเท่านั้นที่สามารถผลิตได้ในระดับสินค้าเกษตรอินทรีย์และส่วนใหญ่เน้นการส่งออกต่างประเทศมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ ปัญหาบางส่วนเนื่องจากเกษตรกรยังไม่มีความรู้เพียงพอในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทางกรมส่งเสริมการเกษตรเริ่มมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปให้คำแนะนำและให้คำปรึกษากับเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรไทย คือ ข้าว ผัก ผลไม้เมืองร้อน เครื่องเทศ สมุนไพร ชา กาแฟ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ประมง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ซึ่งสินค้าเหล่านี้ไทยมีความได้เปรียบในการผลิต ดังนั้นการหันมาผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการจึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     3. มีการผลิตเพียงไม่กี่ชนิด ไม่มีความหลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกรับประทานมากนัก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งให้การส่งเสริมและคำปรึกษาโดยเฉพาะในเรื่องตลาดรองรับสินค้า เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจทั้งในด้านการผลิตและการตลาด

     4. ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์อยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์แพงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 ทำให้ตลาดจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูง สาเหตุที่สินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาแพงคือการผลิตยังไม่มากและแหล่งผลิตอยู่กระจัดกระจาย สินค้าเกษตรอินทรีย์มีโอกาสถูกศัตรูพืชสร้างความเสียหายได้ง่ายและนำหนักของสินค้าเกษตรอินทรีย์จะเบากว่าสินค้าเกษตรทั่วไปทำให้เมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตและการขนส่งแล้วจะสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป

     ดังนั้นในการพัฒนาไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดสารพิษนั้นยังต้องอาศัยเวลาและขั้นตอนการพัฒนาอีกระยะหนึ่ง รวมทั้งยังต้องมีการแก้ปัญหาและอุปสรรคในปัจจุบันให้หมดไปจึงจะทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการผลิต และการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกได้

ที่มา:  ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2551)

การใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์

สาธารณรัฐอิตาลี เป็นประเทศที่มีการนำมาตรการทางภาษีอย่างจริงจังมาใช้ในการส่งเสริมการใช้งานพลาสติกชีวภาพ โดยเริ่มต้นด้วยการออกกฎหมายห้ามจำหน่ายและแจกถุงพลาสติกทุกประเภท ยกเว้นถุงพลาสติกที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพที่มีการรับรองว่าสามารถสลายตัวได้ (compostable plastics) ตามมาตรฐานของ EN 13432:2002 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกนำเสนอโดยสมาชิกสภาราษฎรฝ่ายค้าน ด้วยการสนับสนุนจากภาคประชาชนและอุตสาหกรรม เพื่อมีจุดมุ่งหวังเดียวกันในเรื่องการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงแต่การออกกฎหมายเท่านั้น แต่ได้มีเป้าหมายนโยบายที่ชัดเจนว่าในปี พ.ศ. 2555 ขยะอินทรีย์จะถูก รวบรวมด้วยถุงสลายตัวได้ร้อยละ 65 และนำไปผลิตเป็นปุ๋ย รวมถึงการสร้างกำแพงในการลดการฝังกลบด้วยการเพิ่มค่าการกำจัดสำหรับการฝังกลบอีกร้อยละ 20 ยูโร นอกจากนี้ ยังได้มีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานอย่างโรงผลิตปุ๋ยหมักจากขยะ (composting plant) ที่ขณะนี้มีอยู่ทั้งหมด 240 แห่งทั่วประเทศ มีขยะอินทรีย์เข้ามา 3.7 ล้านตันต่อปี และผลิตเป็นปุ๋ยได้ 1.34 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีการบริหารงานโดยภาคเอกชนและสามารถดำเนินการจนมีกำไรจากค่ากำจัดและปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้

ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินนี้ คือ การได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่มีการคัดแยกขยะต้นทางอย่างสมบรูณ์ โดยแต่ละบ้านจะใช้ถุงพลาสติกชีวภาพที่ได้จากห้างสรรพสินค้ามาใช้แยกขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เช่น ถุงพลาสติกชีวภาพผสมแป้งของบริษัท Novamont ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพาวนด์พลาสติกชีวภาพที่ใช้แป้งเป็นสารตัวเติมหลัก โดยพัฒนาองค์ความรู้มาจากหน่วยงานวิจัยของอิตาลี และเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลาสติกชีวภาพ และเป็นเจ้าของสิทธิบัตรมากกว่า 1,000 สิทธิบัตร จากนั้นจะมีบริษัทมาเก็บแยกเพื่อไปรวบรวม และนำขยะอินทรีย์ไปผลิตปุ๋ยหมัก โดยมีการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยให้มีคุณภาพสูงและควบคุมคุณภาพได้ในการผลิตระดับอุตสาหกรรม

Bioplastics@German

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นอีกประเทศสำคัญที่มีการสนับสนุนการใช้พลาสติกชีวภาพโดยการออกกฎหมายควบคุมการใช้พลาสติก โดยมีการสนับสนุนการใช้พลาสติกชีวภาพที่มีวัตถุดิบใหม่ที่ปลูกทดแทนได้ (renewable resource) โดยมีตัวอย่างที่สำคัญ คือ เมือง Bad Durkheim ซึ่งได้ร่วมมือกับบริษัท BASF สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBAT โดยได้ดำเนินการโครงการนำร่องการใช้ถุงขยะพลาสติกชีวภาพเพื่อคัดการขยะอินทรีย์ และนำมากำจัดในโรงผลิตปุ๋ยหมัก เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้ประชาชนทราบว่ามีการใช้ถุงพลาสติกชีวภาพจะมีคุณภาพดีกว่าการใช้ถุงกระดาษในการคัดแยกแบบในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อถุงขยะพลาสติกชีวภาพจากเทศบาล และต่อมาได้มีการประกาศนโยบายที่มีความชัดเจน โดยกำหนดเป็นข้อกฎหมายของเมืองให้ใช้ถุงขยะพลาสติกชีวภาพในการคัดแยกขยะอินทรีย์

แนวทางของนโยบายการใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อจัดการขยะอินทรีย์ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ได้ริเริ่มและสนับสนุนการดำเนินโครงการนำร่องการเพื่อจัดการขยะอินทรีย์ ได้แก่ 1) เทศบาลตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และชุมชนมีความตระหนักในการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็ง 2) อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้าหมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวบนเกาะ มีพื้นที่จำกัดในการกำจัดขยะ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานโครงการลักษณะนี้ เพื่อจะได้ข้อมูลพื้นฐานและแนวทางที่ชัดเจน สำหรับการสนับสนุนการสร้างนโยบายและมาตรการของภาครัฐที่ต้องมีการสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจร และการส่งเสริมและการจัดการขยะอย่างคุ้มค่าต่อไป