รายงานผลการจัดนิทรรศการ BioFach ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมัน

การจัดงาน BioFach ในวันที่ 13 – 16  กุมภาพันธ์ 2556 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมัน มีรายงานการจัดประชุม ดังนี้

1. ข้อมูลทางโครงสร้าง

ซึ่งมีพื้นที่การจัดนิทรรศการรวมทั้งหมด 72,600 ตารางเมตร 

2.  สื่อ

– มีผู้สื่อข่าวจำนวน 936 ราย จาก 43 ประเทศ
– มีการแสดงผลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 274,339 ครั้ง จากผู้เข้าชม 136 ประเทศ ที่เข้าเว็บเพจ www.biofach.de (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2012 ถึงกุมภาพันธ์ 2013)
– การแสดงผลการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 28,589 ที่เข้าชมเว็บไซต์ m.biofach.de ในมือถือ (กุมภาพันธ์ 2013)  

3.  การเข้าประชุม

– มีผู้เข้าร่วมประชุม 7533 ราย โดยมีการประชุมที่น่าสนใจ เรียงลำดับ ดังนี้
1.BioFach Forum 
2.Key theme “Shared Values” 
3.Fachhandels Forum (German organic trade forum) 
4.Vivaness Forum 5.HORECA Forum  

4. ผลการลงทะเบียนของผู้เข้าชม 4.1 ผู้เข้าเยี่ยมชมงาน จำนวน 130 ประเทศ

ซึ่งมี 10 ประเทศจากต่างประเทศเข้าร่วมงาน ดังนี้
1. ออสเตรีย
2. อิตาลี
3. ฝรั่งเศส
4. เนเธอร์แลนด์
5. โปแลนด์
6. สวิตเซอร์แลนด์
7. สเปน
8. สาธารณรัฐเช็ก
9. สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
10. สโลวีเนีย

4.2 ผู้เข้าชมงานแบ่งตามภาคส่วนของเศรษฐกิจ

 4.3 ผู้เข้าชมงานแบ่งตามอาชีพ

5. เหตุผลที่เข้าร่วมงาน
5.1 เหตุผลหลักที่เข้าร่วมชมงาน

5.2 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชมงาน

5.3 ความสนใจของผู้เข้าชมงานแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจ

5.4 อำนาจการตัดสินใจในการซื้อขาย
92% ของผู้เข้าชมงาน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อสินค้าภายในงาน 

5.5 โอกาสในการติดต่อกับลูกค้า
99% ของผู้เข้าชมงานได้รับความพึงพอใจที่มีโอกาสในการเข้าร่วมงาน โดยได้รับข้อมูลและสามารถสร้างเครือข่ายผู้ติดต่อได้กว้างขึ้น

5.6 การเข้าร่วมงาน BioFach ครั้งต่อไป
84% ของผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดพบว่า สนใจที่จะเข้าร่วมงานงาน BioFach ประเทศเยอรมัน ในปี 2557

5.7 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงานต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในงาน
ผู้เข้าร่วมงาน 22-44% ให้ความเห็นว่า การติดต่อค้าขายภายในงานส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จนเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ดี 

6. ผลการสำรวจผู้เข้าจัดงาน
6.1 ผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดแสดง

6.2 วัตถุประสงค์ที่เข้าร่วมจัดแสดงในงาน

6.3 การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
93% ของผู้เข้าร่วมจัดงานสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของพวกเขาได้

6.4 ความสำเร็จโดยรวม
87% ของผู้เข้าร่วมจัดงานได้รับความพึงพอใจที่มีโอกาสในการเข้าร่วมจัดงาน 

6.5 การติดต่อดำเนินธุรกิจ
83% ของผู้เข้าร่วมจัดงานได้รับการติดต่อจากผู้เข้าชมเพื่อดำเนินธุรกิจ 

6.6 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่
91% ของผู้เข้าร่วมงานสามารถสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ได้

6.7 ผู้เข้าร่วมจัดแสดงในงานที่ได้รับการเข้าชมจาก สาขาดังต่อไปนี้

6.7 ความตั้งใจที่จะจัดแสดงที่ BioFach ครั้งต่อไป
82% ของผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานวางแผนที่จะจัดแสดงที่ BioFach อีกครั้งในปี 2014

6.8 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในงาน
ผู้เข้าร่วมงาน 12-42% ให้ความเห็นว่า การติดต่อค้าขายภายในงานส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จนเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ดี

ปัญหาและอุปสรรคของการเกษตรอินทรีย์ไทย ด้านการผลิตและการส่งเสริมการตลาด

การเกษตรทางเลือกมีหลากหลายรูปแบบหนึ่งในนั้นคือเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศในทวีปยุโรปที่ประสบปัญหาจากการทำการเกษตรเคมีมาก่อน จึงก่อให้เกิดกระแสความสนใจในการเกษตรทางเลือกที่สามารถลดผลกระทบจากกระบวนการผลิตได้ สำหรับการเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากเกิดปัญหาทั้งในด้านการผลิตและการส่งเสริมการตลาดสาเหตุที่ทำให้ตลาดเกษตรอินทรีย์ไม่ประสบความสำเร็จสามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิด  “ความล้มเหลวของตลาด” อันมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวของตลาด  ดังนี้1.  การมีอำนาจเหนือตลาด  (market power)  ของเกษตรกร  เนื่องจากยังมีอุปทานหรือจำนวนเกษตรกรและพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่มาก2.  ผลกระทบภายนอก (Externalities)  การที่ระบบการผลิตแบบเกษตรเคมีมีผลกระทบภายนอก  การผลิตด้วยเกษตรอินทรีย์ที่คำนึงถึงผลกระทบภายนอกโดยเอาต้นทุนทางสังคมมารวมเข้ากับต้นทุนการผลิต  ทำให้ต้องมีการจ้างแรงงานมาดูแลมากขึ้นทดแทนกับการไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  จึงทำให้ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์สูงกว่าสินค้าอื่น ๆ มากถึง 30-60 %  3.  ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล (Imperfect information)  ผู้บริโภคมีข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์น้อยมาก  จึงไม่ตระหนักถึงความสำคัญ  และไม่นิยมบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์เท่าใดนักสำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์นั้น  จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน (เกษตรกรและผู้บริโภค)เพื่อสร้างเสริมความรู้  ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์  และคุณประโยชน์ของการเกษตรอินทรีย์ในแง่ที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศอีกด้วย ที่มา:  ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดย ศริณ แซ่ลิ่ม (2550)

ปัญหาในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

ปัจจุบันการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศไทยเกษตรอินทรีย์เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลในการปรับทิศทางการผลิตในภาคการเกษตรให้สอดรับกับสถานการณ์โลก ซึ่งปัญหาในระยะที่ผ่านมาสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย มีดังนี้คือ

     1. ขาดการรับรองมาตรฐาน การที่ยังไม่มีหน่วยงานของราชการออกมาให้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ยังไม่เป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง ผู้บริโภคไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรทั่วไป ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ทำให้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมั่นใจในสินค้า และยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์

          2. การผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับสินค้าเกษตรอนามัยเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผัก มีเพียงข้าวสารบรรจุถุงเท่านั้นที่สามารถผลิตได้ในระดับสินค้าเกษตรอินทรีย์และส่วนใหญ่เน้นการส่งออกต่างประเทศมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ ปัญหาบางส่วนเนื่องจากเกษตรกรยังไม่มีความรู้เพียงพอในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทางกรมส่งเสริมการเกษตรเริ่มมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปให้คำแนะนำและให้คำปรึกษากับเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรไทย คือ ข้าว ผัก ผลไม้เมืองร้อน เครื่องเทศ สมุนไพร ชา กาแฟ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ประมง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ซึ่งสินค้าเหล่านี้ไทยมีความได้เปรียบในการผลิต ดังนั้นการหันมาผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการจึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     3. มีการผลิตเพียงไม่กี่ชนิด ไม่มีความหลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกรับประทานมากนัก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งให้การส่งเสริมและคำปรึกษาโดยเฉพาะในเรื่องตลาดรองรับสินค้า เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจทั้งในด้านการผลิตและการตลาด

     4. ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์อยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์แพงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไปเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 ทำให้ตลาดจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูง สาเหตุที่สินค้าเกษตรอินทรีย์มีราคาแพงคือการผลิตยังไม่มากและแหล่งผลิตอยู่กระจัดกระจาย สินค้าเกษตรอินทรีย์มีโอกาสถูกศัตรูพืชสร้างความเสียหายได้ง่ายและนำหนักของสินค้าเกษตรอินทรีย์จะเบากว่าสินค้าเกษตรทั่วไปทำให้เมื่อคำนวณต้นทุนการผลิตและการขนส่งแล้วจะสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป

     ดังนั้นในการพัฒนาไปสู่การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดสารพิษนั้นยังต้องอาศัยเวลาและขั้นตอนการพัฒนาอีกระยะหนึ่ง รวมทั้งยังต้องมีการแก้ปัญหาและอุปสรรคในปัจจุบันให้หมดไปจึงจะทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการผลิต และการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกได้

ที่มา:  ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2551)